เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก


14 ก.พ. 2561    Kanyarat    42

เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก

      จังหวัดตาก ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ.ที่ 1/2558 ซึ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย คือ เป็นประตูฝั่งตะวันตกของประเทศไทย บนแนวระเบียงเศรษฐกิจ (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจชายแดน เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และเชื่อมต่อสู่ท่าเรือเมาะละแหม่ง รัฐมอญ และกรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้

     ทั้งนี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นับเป็นประเทศคู่ค้าทางชายแดนที่สำคัญเป็นอันดับ 2 ของไทยรองลงมาจากมาเลเซีย โดยด่านการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68 ของมูลค่าการส่งออกชายแดนไทย-เมียนมาร์ทั้งหมด ส่งผลให้ด่านแม่สอดนับเป็นด่านที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ประกอบกับในพื้นที่อำเภอแม่สอด มีฐานการลงทุนเดิมในพื้นที่อยู่แล้วและมีภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น รวมทั้งสามารถร่วมดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วม (Co-production) กับนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี (เมียนมาร์) ได้อีกด้วย

     ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การขยายสนามบินแม่สอด การขยายถนน 4 เลน (เส้นทาง ตาก-แม่สอด) และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 เชื่อมต่อระหว่างบ้านวังตะเคียนฝั่งอำเภอแม่สอด กับ ฝั่งบ้านเยปู เมืองเมียวดี ระยะทางยาว 22 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 และกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2561 โดยคาดว่าจะส่งผลให้การค้า การส่งออกระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาพรวมการค้าชายแดนผ่านด่านแม่สอด ขณะนี้ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากก่อสร้างโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนแม่สอดให้ขึ้น มาแตะระดับหนึ่งแสนล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 8.4 หมื่นล้านบาท สำหรับการส่งออกช่วง 4 เดือนแรกปีนี้นั้น (ม.ค.-เม.ย. 2560) ผ่านด่าน   แม่สอดมีมูลค่ารวม 2.78 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 10.49 % ที่มีมูลค่าส่งออกรวม 2.52 หมื่นล้านบาท

     ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็น “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ/เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น” ซึ่งกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจแยกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ ภาคบริการ 51.47 % ภาคการเกษตร 24.94 % และ ภาคอุตสาหกรรม 16.93 % ซึ่งมีผลผลิตในพื้นที่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเหลือง พืชผัก ประมงน้ำจืด อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เกษตร และสิ่งทอ ในขณะที่ภาคบริการเป็นการขายส่ง/ขายปลีก โดยมีอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป และ  การผลิตอาหารสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมบริการ และกิจการด้านโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า

     ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็น “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ/เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น” ซึ่งกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจแยกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ ภาคบริการ 51.47 % ภาคการเกษตร 24.94 % และ ภาคอุตสาหกรรม 16.93 % ซึ่งมีผลผลิตในพื้นที่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเหลือง พืชผัก ประมงน้ำจืด อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เกษตร และสิ่งทอ ในขณะที่ภาคบริการเป็นการขายส่ง/ขายปลีก โดยมีอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ได้แก่

     - อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง

     - อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป และ  การผลิตอาหารสัตว์

     - การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

     - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้

     - อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

     - อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์

     - นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมบริการ

     - กิจการด้านโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า

    นอกจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดที่มีความสำคัญต่อกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น เส้นทางเชื่อมโยงสายเศรษฐกิจอีกแนวหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ เขตพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R9 ซึ่งเส้นทางนี้ เป็นการตัดขวางเชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก หรือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก โดยมีระยะทาง 1,450 กิโลเมตร เชื่อมโยง 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงตลาดในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GME (Greater Mekong Subregion) 6 ประเทศให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาธุรกิจ และอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง ช่วยลดต้นทุน และย่นระยะเวลาในการขนส่ง โดยที่เส้นทางสาย R9 นี้ ยังมีจุดเชื่อมต่อกับแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North South Economic Corridor : NSEC) ที่สี่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีของจังหวัดในภูมิภาคและประเทศไทยในการ เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ภายในและนอกอนุภูมิภาคอีกทั้ง ยังเป็นทางเลือกให้กับระบบโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาค GMS อีกด้วย

     จะเห็นได้ ว่าการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสาย R9 หรือ แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ทำให้ จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 และประเทศไทยมีโอกาสสำคัญในการขยายตลาดการค้าไปสู่ผู้บริโภคขนาดใหญ่ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึน้ โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของไทยในการค้าผ่านแดนอีกด้วย