DIPROM CENTER 2 รับฟังสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
DIPROM CENTER 2 รับฟังสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 DIPROM CENTER 2 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่รับฟังสรุปผลกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน บริษัท ชั้นสุพัฒน์รุ่งเรือง จำกัด ดำเนิการพัฒนาสถานประกอบการ 3 ประเด็นหลัก ได้เเก่ 1.พัฒนาจัดการด้านขนส่งวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการขนส่ง2.พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง 3.ลดความสูญเสียในสายการผลิตผลการดำเนินงานหลังเข้าโครงการฯ ทางบริษัทฯ ลดต้นทุนการขนส่ง ลดการสูญเสียด้านบริหารคลังสินค้า และลดของเสียจากการผลิต ประมาณ ร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 2,000,000 บาท/ปี
05 ส.ค 2566
ดีพร้อมเซนเตอร์ 2 (DIPROM CENTER 2) เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.2 กสอ.) หรือ ดีพร้อมเซนเตอร์ 2 (DIPROM CENTER 2) เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ในวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณหอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
28 ก.ค. 2566
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 หรือ DIPROM Center 2 พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ กองโลจีสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 หรือ DIPROM Center 2 พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ กองโลจีสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจีสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ณ สถานประกอบการ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 โดยมีสถานประกอบการดังนี้1. บริษัท บี เอ็ม ฟูดส์แอนด์พอร์ค จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์พัฒนาด้านจัดการการขนส่งวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการขนส่ง,พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง , ปรับปรุงห้องเย็นในด้านลดความสูญเปล่าและเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อสุกรและวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต บริหารคลังสินค้า และการขนส่งสินค้า 2. บริษัท ส.อรุณขนส่ง (ไทย) จำกัด จ.อุตรดิตถ์พัฒนาการจัดการการขนส่งวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาแผนและแนวทางการกำหนดนโยบายพนักงานแผนกขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ,วิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เกี่ยวกับด้านขนส่งโดยเฉพาะ ตั้งแต่พฤติกรรมพนักงานขนส่ง เส้นทางการขนส่ง การใช้รถให้เต็มประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าปรับ ค่าอุบัติเหตุขณะขนส่ง ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าซ่อมบำรุง 3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชั้นสุพัฒน์ รุ่งเรือง จังหวัดอุตรดิตถ์พัฒนาแนวทางลดต้นทุนการขนส่งโดยใช้ระบบ GPS และดึงข้อมูลมาคำนวนเป็นต้นทุนด้านขนส่ง,พัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โลจิสติกส์ด้วยการควบคุมพฤติกรรมดำเนินงานของพนักงานขนส่งและวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่ จัดซื้อวัถุดิบกระบวนการผลิต บริหารคลังสินค้า และการขนส่งสินค้า พร้อมศึกษาตลาดและเส้นทางการขนส่งใหม่
27 ก.ค. 2566
เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ
ในระหว่างวันที่ 25-26 ก.ค. 2566เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ณ ครัวไอรีน จ.อุตรดิตถ์ อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงตู้อบ โดยการพัฒนาระบบความร้อนจากอินฟาเรทและระบบ Timemer กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ณ 1.บริษัท โอนาน่า จ. อุตรดิตถ์ ติดตั้งเครื่องหมุนฝาน้ำมะเขือเทศ 2.พรจากแม่ จ.อุตรดิตถ์ ปรับแก้ไขเครื่องจักรเนื่องการทำงานระบบมอเตอร์3.ข้าวข่อยสูง จ.อุตรดิตถ์ ติดตั้งเครื่องสกัดน้ำมัน4.โรงงานชัยสุรินทร์ จ.สุโขทัย ติดตั้งระบบสายพานลำเลียงน้ำกระเทียมทอง5.วิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปผลผลิตเกษตรบ้านเหนือรวมน้ำใจ จ.สุโขทัย ติดตั้งเครื่องปอกเปลือกกระเทียม
27 ก.ค. 2566
“โตยั่งยืนไปกับเครือข่ายบริการธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM Northern Network Conference)”
“โตยั่งยืนไปกับเครือข่ายบริการธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM Northern Network Conference)” จ.พิษณุโลก : วันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566 กข.กสอ. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “โตยั่งยืนไปกับเครือข่ายบริการธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเหนือ” (DIPROM Northern Network Conference) โดยได้รับเกียรติจากนายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ นายทานทัต ยมเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนายรักษ์ เจริญศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบริการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้ชี้แจง “แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่งเสริม SMEs ประจำปีงบประมาณ 2566” สำหรับการสัมมนาฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือภายใต้การดูแลของ ศภ.1-3 กสอ. และเพื่อให้สมาชิกเครือข่ายได้เรียนรู้รูปแบบการเชื่อมโยงบริการส่งเสริม SMEs อันจะนำไปสู่การบูรณาการการทำงานร่วมกันในการให้บริการส่งเสริม และสนับสนุน SMEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำทีมโดยวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมากประสบการณ์ในเรื่องของการทำงานเป็นทีม และการสร้างความสัมพันธ์เครือข่าย ได้แก่ อ.วิรวัฒน์ ญาณวุฒิ และ อ.พงศ์ธนัช กิตติสิทธิ์อำพร โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 35 คน ประกอบด้วย หน่วยงานผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BDSP) ที่ปรึกษาธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) เจ้าหน้าที่ ศภ.1-3 กสอ. และเจ้าหน้าที่ กข.กสอ. ณ โรงแรม เดอะ แกรนด์ ริเวอร์ไซด์ จังหวัดพิษณุโลก
26 ก.ค. 2566
DC2 ร่วมถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินและร่วมลงนามถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ ศภ.2 กสอ.
DC2 ร่วมถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินและร่วมลงนามถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ ศภ.2 กสอ. วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 นำโดย น.ส.นิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ข้าราชการ และ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ศภ.2 กสอ. ร่วมลงนามถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ ศภ.2 กสอ. พร้อมกับหน่วยงานในสังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
24 ก.ค. 2566
"ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง นำตลาดสู่การผลิต" โดย DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2)
"ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง นำตลาดสู่การผลิต" โดย DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2)ระหว่างวันที่ 14 -16 กรกฎาคม 2566 กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ (นายศักดิ์จิระ เวียงเก่า) ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และให้บริการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านใหม่พัฒนา กลุ่มทอผ้าบ้านวังผาชัน ร้านดวงนภาแฟชั่นผ้าไทย และร้านคำปันผ้าทอ พื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย เพื่อประชาสัมพันธ์ เจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยจำหน่ายผ่านทางช่องออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook และยกระดับผลิตภัณฑ์ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยการผสานอัตลักษณ์ความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่มีศักยภาพและแข่งขันได้ในระดับสากล ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (ภาพ/ข่าว : นายสุรชัย ไตรธรรม)
17 ก.ค. 2566
DIPROM CENTER 2 เดินหน้าส่งเสริมสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้มีการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
DIPROM CENTER 2 เดินหน้าส่งเสริมสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้มีการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 DIPROM CENTER 2 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดำเนินการติดตามการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท บี เอ็ม ฟูดส์แอนด์พอร์ค โพรดักส์ จำกัด พัฒนา 2 ประเด็นหลัก ได้เเก่ 1.พัฒนาจัดการด้านขนส่งวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการขนส่ง2.พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ผลการดำเนินงานหลังเข้าโครงการฯ ทางบริษัทฯ ลดต้นทุนการขนส่ง ประมาณ ร้อยละ 11-14 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 378,900 บาท/ปี ลดการสูญเสียด้านบริหารคลังสินค้าได้ ร้อยละ 21-29 คิดเป็นมูลค่าโดย 562,000 บาท/ปี ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ในส่วนของคลังสินค้า ร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 250,000 บาท/ปี บริษัท ส อรุณ (ขนส่ง) ไทย จำกัด พัฒนา 2 ประเด็นหลัก ได้เเก่1.พัฒนาจัดการด้านขนส่งวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการขนส่ง 2.พัฒนาแนวทางการกำหนดนโยบายพนักงานแผนกขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานหลังเข้าโครงการฯ ทางบริษัทฯ ลดต้นทุนการสูญเสียจากจากจัดการด้านขนส่งลง โดยประมาณ ร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าโดย 1,600,000 บาท/ปี ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในเรื่องของพฤติกรรมการขนส่ง การบริหารงาน จำนวนพนักงาน ค่าเเรงพนังงาน ร้อยละประมาณ 10 คิดเป็นมูลค่า 1,000,000 บาท/ปี บริษัทล้านฟาร์มฮัก จำกัด พัฒนา 2 ประเด็นหลัก ได้เเก่1.พัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารการคลังสินค้า2.วิเคราะห์ประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่ง ผลการดำเนินงานหลังเข้าโครงการฯ ทางบริษัทฯ ได้วิเคราะห์และประเมินสถานประกอบการ ลดการสูญเสียด้านการบริหารคลังสินค้า ประมาณร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 153,000 บาท/ปี พัฒนาด้านขนส่งเต็มประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าทางด้านขนส่ง ประมาณร้อยละ 30-39 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 100,000 บาท/ปี ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ในด้านบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ประมาณร้อยละ 140,000 บาท/ปี และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยการปรับปรุงและพัฒนาห้องเย็นคลังสินค้าใหม่ที่มีขนาดใหญ่ โดยแบ่งกั้นพื้นที่บางส่วนเพื่อเปิดให้บุคคลภายนอกเช่าห้องเย็น ประมาณร้อยละ 11-14 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 250,000 บาท/ปีภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
14 ก.ค. 2566
DIPROM Center 2 เสริมแกร่งให้วิสาหกิจชุมชนด้วยหลักสูตรอบรบการสร้างวิดีโอคอนเทนต์อย่างไรให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างตัวตนและช่องทางการตลาดออนไลน์ มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 70 คน
DIPROM Center 2 เสริมแกร่งให้วิสาหกิจชุมชนด้วยหลักสูตรอบรบการสร้างวิดีโอคอนเทนต์อย่างไรให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างตัวตนและช่องทางการตลาดออนไลน์ มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 70 คน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 หรือ DIPROM Center 2 ลงพื้นที่จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการสร้างวิดีโอคอนเทนต์ให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย” ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2566 ให้แก่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ มากกว่า 30 กลุ่ม โดยได้วิทยากร นางสาวภัทราวรรณ พิพิธทอง ผู้มีประสบการณ์ด้านโปรดิวเซอร์ การกำกับการแสดง และสื่อโฆษณา มาแนะนำเคล็ดลับการทำวิดีโอคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง มีเนื้อหาเริ่มต้นจากรู้จักตนเองว่าโดดเด่นหรือต่างจากคนอื่นอย่างไร เรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคในแต่ละช่วงวัยและเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ เลือกประเภทคอนเทนต์ที่จะนำเสนอ เช่น ให้ความรู้ สร้างภาพลักษณ์ สัมภาษณ์ รีวิว โปรโมชั่น ฯลฯ เพื่อคิดเรื่องราวให้ตรงกับความชอบและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย นำไปเขียนสคลิปส์ภาพและเสียง ถ่ายทำวิดีโอตามลำดับเรื่องราวและตัดต่อเพื่อให้ได้คอนเทนต์ที่สมบรูณ์ ท้ายที่สุดนำคอนเทนต์ไปลงในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เลือก เช่น Tiktok Facebook เพื่อดูผลตอบรับจากคนดู คาดว่าผู้เรียนจะนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง พัฒนา และลงมือทำวิดีโอคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างตัวตนและสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นจากช่องทางตลาดออนไลน์ได้ในอนาคต
11 ก.ค. 2566
DC2 ร่วมสัมมนาเชิงปฎิบัติการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) พื้นที่ตำบลดอนทอง – ตำบลบ้านป่า จังหวัดพิษณุโลก
DC2 ร่วมสัมมนาเชิงปฎิบัติการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) พื้นที่ตำบลดอนทอง – ตำบลบ้านป่า จังหวัดพิษณุโลก วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายทานทัต ยมเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และนายชาญวิทย์ เทพอุโมงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ เข้าร่วมสัมมนา เชิงปฎิบัติการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) พื้นที่ตำบลดอนทอง – ตำบลบ้านป่า จังหวัดพิษณุโลก วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการทบทวนแผนปฎิบัติการและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry Town) โดยมีโรงงานในพื้นที่เป้าหมายบริเวณโดยรอบ ตำบลดอนทอง – ตำบลบ้านป่าเข้าร่วมสัมมนา พร้อมศึกษาทั้ง 5 มิติ คือ 1.มิติกายภาพ 2.มิติเศรษฐกิจ 3.มิติสิ่งแวดล้อม 4.มิติสังคม 5.มิติการบริหารและจัดการ เป็นการบูรณาการในการทำงานของหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมการวิเคราะห์ Swot Analysis และ Tows Matrix และแนวทางการพัฒนา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ ค่าเป้าหมายเพื่อกำหนดเป็นแผนปฎิบัติ ที่สอดประสานและตรงกับความต้องการของพื้นที่
11 ก.ค. 2566