หมวดหมู่
19-22 ก.พ. 61 : จนท.ศภ.2 กสอ. ร่วมกับที่ปรึกษา ลงพื้นที่โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
จนท.ศภ.2 กสอ. ร่วมกับที่ปรึกษา บริษัท นีโอ-เน็ต ซอฟท์ จำกัด ลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ณ สถานประกอบการ หจก.พี.เอส การ์เม้นท์ อินเตอร์ เนชั่นแนล, หจก.แม่สอดจรรย์สุดา และ บริษัท แม่สอดบรรจุภัณฑ์ จำกัด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 19-22 ก.พ. 2561
19 ก.พ. 2561
16 ก.พ. 61 : จนท.ศภ2 กสอ. เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหาร บริษัท ศรีแก้ว หล่มเก่า จำกัด
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 จนท.ศภ2 กสอ.เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหาร บริษัท ศรีแก้ว หล่มเก่าจำกัด เพื่อแนะนำที่ปรึกษา แผนงานที่ 5 (แผนงานเพิ่มสมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดพร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ ฯ (First Visit) ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP) โดยมี บริษัท ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา ณ บริษัท ศรีแก้ว หล่มเก่า จำกัด อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
16 ก.พ. 2561
15 ก.พ. 61 : ศภ.2 กสอ. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้เครื่องจักรแปรรูปที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง"
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้เครื่องจักรแปรรูปที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง” เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ผักผลไม้ ภายใต้โครงการศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Service Center) ณ ห้องประชุม BSC ชั้น 2 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2
15 ก.พ. 2561
15 ก.พ. 61 : ศภ.2 กสอ. ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ NEC
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ NEC ในปีงบประมาณ 2561 เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ITC : Industry Transformation Center โดยได้นำเข้าเยี่ยมชมในส่วนของ Training & Model making, Packaging & Technology, Studio และ Pilot Plant อาคารปฏิบัติการ โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชม และจำนวน 30 คน
15 ก.พ. 2561
ขอเชิญร่วมนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ "2018 Smart City Summit & Expo"
พบกับนวัตกรรมใหม่ในงานนิทรรศการ "2018 Smart City Summit & Expo" ระหว่างวันที่ 27 - 30 มีนาคม 2561 ณ ไทเป ไต้หวัน ไต้หวันขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ IoT "2018 Smart City Summit & Expo" จัดโดย Taiwan Smart City Solution Alliance, Taipei City Government และ Taipei Computer Association ระหว่างวันที่ 27 - 30 มีนาคม 2561 ณ ไทเป ไต้หวัน ซึ่งในปีนี้ ได้ร่วมกันแสดงผลิตภัณฑ์ IoT ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน Smart Healthcare ด้าน Smart Education Expo และด้าน Intelligent Building Expo โดยจะจัดการประชุมและสัมมนาเป็นกิจกรรมคู่ขนานเพื่อส่งเสริมความรู้ด้าน Smart City ต่าง ๆ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://en.smartcity.org.tw/index.php/en-us/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Taipei Computer Association หมายเลขโทรศัพท์ +886-2-2577-4249 ต่อ 820 อีเมล์ shaph@mail.tca.org.tw หรือเว็บไซต์ http://www.tca.org.tw/en/
14 ก.พ. 2561
เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก
เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก จังหวัดตาก ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ.ที่ 1/2558 ซึ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย คือ เป็นประตูฝั่งตะวันตกของประเทศไทย บนแนวระเบียงเศรษฐกิจ (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจชายแดน เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และเชื่อมต่อสู่ท่าเรือเมาะละแหม่ง รัฐมอญ และกรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้ ทั้งนี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นับเป็นประเทศคู่ค้าทางชายแดนที่สำคัญเป็นอันดับ 2 ของไทยรองลงมาจากมาเลเซีย โดยด่านการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68 ของมูลค่าการส่งออกชายแดนไทย-เมียนมาร์ทั้งหมด ส่งผลให้ด่านแม่สอดนับเป็นด่านที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ประกอบกับในพื้นที่อำเภอแม่สอด มีฐานการลงทุนเดิมในพื้นที่อยู่แล้วและมีภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น รวมทั้งสามารถร่วมดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วม (Co-production) กับนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี (เมียนมาร์) ได้อีกด้วย ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การขยายสนามบินแม่สอด การขยายถนน 4 เลน (เส้นทาง ตาก-แม่สอด) และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 เชื่อมต่อระหว่างบ้านวังตะเคียนฝั่งอำเภอแม่สอด กับ ฝั่งบ้านเยปู เมืองเมียวดี ระยะทางยาว 22 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 และกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2561 โดยคาดว่าจะส่งผลให้การค้า การส่งออกระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาพรวมการค้าชายแดนผ่านด่านแม่สอด ขณะนี้ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากก่อสร้างโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนแม่สอดให้ขึ้น มาแตะระดับหนึ่งแสนล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 8.4 หมื่นล้านบาท สำหรับการส่งออกช่วง 4 เดือนแรกปีนี้นั้น (ม.ค.-เม.ย. 2560) ผ่านด่าน แม่สอดมีมูลค่ารวม 2.78 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 10.49 % ที่มีมูลค่าส่งออกรวม 2.52 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็น “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ/เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น” ซึ่งกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจแยกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ ภาคบริการ 51.47 % ภาคการเกษตร 24.94 % และ ภาคอุตสาหกรรม 16.93 % ซึ่งมีผลผลิตในพื้นที่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเหลือง พืชผัก ประมงน้ำจืด อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เกษตร และสิ่งทอ ในขณะที่ภาคบริการเป็นการขายส่ง/ขายปลีก โดยมีอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป และ การผลิตอาหารสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมบริการ และกิจการด้านโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็น “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ/เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น” ซึ่งกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจแยกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ ภาคบริการ 51.47 % ภาคการเกษตร 24.94 % และ ภาคอุตสาหกรรม 16.93 % ซึ่งมีผลผลิตในพื้นที่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเหลือง พืชผัก ประมงน้ำจืด อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เกษตร และสิ่งทอ ในขณะที่ภาคบริการเป็นการขายส่ง/ขายปลีก โดยมีอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ได้แก่ - อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง - อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป และ การผลิตอาหารสัตว์ - การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ - อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ - อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ - นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมบริการ - กิจการด้านโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า นอกจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดที่มีความสำคัญต่อกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น เส้นทางเชื่อมโยงสายเศรษฐกิจอีกแนวหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ เขตพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R9 ซึ่งเส้นทางนี้ เป็นการตัดขวางเชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก หรือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก โดยมีระยะทาง 1,450 กิโลเมตร เชื่อมโยง 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงตลาดในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GME (Greater Mekong Subregion) 6 ประเทศให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาธุรกิจ และอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง ช่วยลดต้นทุน และย่นระยะเวลาในการขนส่ง โดยที่เส้นทางสาย R9 นี้ ยังมีจุดเชื่อมต่อกับแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North South Economic Corridor : NSEC) ที่สี่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีของจังหวัดในภูมิภาคและประเทศไทยในการ เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ภายในและนอกอนุภูมิภาคอีกทั้ง ยังเป็นทางเลือกให้กับระบบโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาค GMS อีกด้วย จะเห็นได้ ว่าการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสาย R9 หรือ แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ทำให้ จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 และประเทศไทยมีโอกาสสำคัญในการขยายตลาดการค้าไปสู่ผู้บริโภคขนาดใหญ่ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึน้ โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของไทยในการค้าผ่านแดนอีกด้วย
14 ก.พ. 2561
13 ก.พ. 61 : จนท.ศภ.2 กสอ.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ คพอ. รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์ เรื่อง "คนสำเร็จ เค้าทำอย่างไร วิธีคิด สำคัญกว่า วิธีทำ"
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 จนท.ศภ.2 กสอ.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์ เรื่อง "คนสำเร็จ เค้าทำอย่างไร วิธีคิด สำคัญกว่า วิธีทำ" โดย คุณพันธุ์ทิพา ขวัญทองอินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพาเวอร์พลัส ครีเอชั่น จำกัด
13 ก.พ. 2561
11 ก.พ. 2561 : จนท.ศภ2 กสอ. ติดตามงาน กิจกรรมฝึกอบรมการเขียนโมเดลธุรกิจและเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการใหม่
วันที่ 11 ก.พ. 2561 จนท.ศภ2 กสอ. ติดตามงาน กิจกรรมฝึกอบรมการเขียนโมเดลธุรกิจและเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการใหม่ ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม หัวข้อบรรยาย "แผนองค์กรและการจัดการ และการตลาด" เป้าหมายจำนวน 25 คน ณ ห้องสราญรมย์ โรงแรมรัตนาปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
11 ก.พ. 2561
10 ก.พ. 61 : จนท.ศภ.2 กสอ. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 จนท.ศภ.2 กสอ. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์ เรื่อง "การบริหารความเสี่ยงความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลง" โดย อ.วิโรจน์ โสวัณณะ
10 ก.พ. 2561
9 ก.พ. 61 : จนท.ศภ.2 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 จนท.ศภ.2 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่น 337 จังหวัดอุตรติดถ์ เรื่อง "การพลิกวิกฤต ยุคอุตสาหกรรม 4.0" โดย ดร.พสิษฐ์ ธนาโชติอนันต์กุล
09 ก.พ. 2561