Power of Assistant ต่อยอดกิจกรรมของสมาชิก คพอ.ภาคเหนือ
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จัดกิจกรรม Power of Assist งานจัดอบรมหลักสูตรพิเศษสำหรับ ผู้นำกิจกรรม Leadership สำหรับ Follow up Friendship และ Follow up Fin chat โดย Facilitator คุณอุรชา ภู่ภักดี ประธานรุ่น คพอ.402 แนะนำ กระบวนการเพิ่มศักยภาพ ของ Assist ในมิติใหม่ของการเรียนรู้ และระดมสมองของน้องๆ พี่ๆ เพื่อนๆ คพอ.ภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายกสมาคม FA SME พิษณุโลก คุณชัญญอร พวงสมบัติ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยมี คพอ.พิษณุโลก 30 คน เชียงใหม่ 2 คน เพชรบูรณ์ 1 คน และ พิจิตร 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมประโยชน์ของการเป็น Assist1.ฝึกการจัดการ2.ฝึกการเป็นผู้นำ3.ผู้ฟังที่ดี4.ได้รู้จักคนเพิ่มมากขึ้น5.การได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น6.ฝึกการ connect ธุรกิจเข้าหากัน7.ได้รู้จัก พลัง คพอ.ทั่วจังหวัด + ทั่วไทย8.ได้ช่วยเหลือและแบ่งปันให้กับเพื่อน ในส่วนที่เพื่อนต้องการ9.ได้รู้จักธุรกิจเพื่อสนับสนุนและได้แนะนำ (ต่อ)10.ได้ conncction รู้จักเพื่อนๆ มากขึ้น ทั้งเรื่องส่วนตัวและ ธุรกิจ11.ได้แบ่งปัน เวลา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น12.ได้เรียนรู้ธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจตนเอง13.ได้คำแนะนำ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ14.ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด จากผู้ที่ทำธุรกิจมาก่อน และมาเปรียบเทียบ15.มีแนวคิดใหม่ๆ เห็นธุรกิจมากขึ้น16.รู้จักฟัง ผู้อื่นและเรียนรู้ที่จะตั้งคำถรามให้บรรยากาศการสนทนาผ่อนคลาย17.ฝึกฟังจับประเด็น18.ได้รู้ประสบการณ์ของคนอื่น19.พูดเข้าประเด็นสำคัญในเวลาที่กำหนด20.ได้เชื่อมโยงธุรกิจ21.ได้ copy ความสำเร็จของผู้อื่น22.พัฒนาตัวเอง พัฒนาเพื่อน พัฒนาธุรกิจ23.เป็นผู้ฟังมากขึ้น 24.จับประเด็นได้25.ตั้งคำถามเก่งขึ้น26.รู้จักสมาชิก และเห็นความรักของเพื่อนๆ น้องๆ
09 พ.ค. 2567
DIPROM CENTER 2 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก Digital พื้นที่จังหวัดสุโขทัย และตาก
วันที่ 29 - 30 เมษายน 2567 DIPROM CENTER 2 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริม SMEs ไทยให้ดีพร้อม (DIPROM) ในการบริหารจัดการธุรกิจด้วยดิจิทัล และกิจกรรม “เพิ่มศักยภาพ SMEs ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0”ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ณ สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและตาก ได้แก่ 1. บริษัท เติมฝัน กรุ๊ป จำกัด อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ผู้ให้บริการด้านการสอนเสริมทักษะ สถานที่ออกกำลังกายในร่ม ดำเนินการทำการตลาดออนไลน์ ปรับปรุงการทำงานระบบหลังบ้าน เน้นการทำ CRM กับลูกค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องทางต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงมากขึ้น 2. บริษัท สุโขทัยซีเมนต์ จำกัด อ.เมือง จ.สุโขทัย ผู้จัดจำหน่ายวัสดุ - อุปกรณ์ก่อสร้างดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านช่องทาง Line OA และการเข้าถึงของลูกค้าให้มากขึ้นผ่านแพลตฟอร์ม Shoppee 3. ชาใจ อ.เมือง จ.ตาก ดำเนินการสร้างการเข้าถึงของลูกค้าผ่านช่องทาง Facebook และ CRM กับลูกค้าผ่านช่องทาง Line 4. ปิงวิว สวนอาหารและรีสอร์ท อ.เมือง จ.ตาก ดำเนินการสร้างเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงของลูกค้าและบริหารจัดการระบบการจองห้องพัก ห้องประชุม สวนอาหาร ให้สามารถควบรวมอยู่ใน Chanel เดียวกัน นอกจากนี้ได้ยังได้เยี่ยมชมสถานประกอบการ ศิลาทิพย์ อ.เมือง จ.ตาก เพื่อรับทราบปัญหาและหาแนวทางในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนในอนาคตต่อไป
03 พ.ค. 2567
ดำเนินงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนามาตรฐาน
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อทบทวนกระบวนการผลิต การจัดทำเอกสารการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐาน FSSC 22000 สำหรับการตรวจประเมินภายใน ณ หจก.ฟาร์มจิ้งหรีดชุติกาญจน์ จ.สุโขทัย และติดตามการดำเนินงานกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย ณ หจก. ฟาร์ม เห็ดหลินจือ บ้านราชพฤกษ์ พิษณุโลก ซึ่งประยุกต์ใช้ระบบ IoT ในโรงเรือนเพาะเห็ด เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตเห็ดหลินจือและเห็ดนางฟ้า ลดต้นทุนแรงงานคน
03 พ.ค. 2567
แสดงความยินดี ระหว่าง ไร่สายชล 101 กับ ชุมชนวังร่อง พร้อมรับฟังสรุปผลการดำเนินกิจกรรม บจก.จุลไหมไทย จ.เพชรบูรณ์
แสดงความยินดี ระหว่าง ไร่สายชล 101 กับ ชุมชนวังร่องพร้อมรับฟังสรุปผลการดำเนินกิจกรรม บจก.จุลไหมไทย จ.เพชรบูรณ์ วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบอาหารแปรรูปหรือสินค้าจากพืชเศรษฐกิจ (ผำ) ระหว่าง บริษัท ไร่สายชล 101 จำกัด อ.หล่มสัก และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านวังร่อง อ.หล่มสัก เพื่อเป็น Partner ทางธุรกิจ หลังจากที่ได้มีการเริ่มต้นเชื่อมโยงกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2566 (ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพรบูรณ์) และ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมรับฟัง การนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมการบริหารงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ของ บริษัท จุไหมไทย จำกัด โดยพนักงานของ 6 แผนกบริษัท นำเสนอการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน ก่อน- หลัง การเข้าร่วมกิจกรรม ผลที่ได้รับ มูลค่าที่คิดเป็นจำนวนเงิน และแนวทางการต่อยอด โดยมีผู้บริหารของบริษัทร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วย ณ บริษัท จุลไหมไทย จำกัด อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
30 เม.ย. 2567
ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้รับจ้าง กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ( Cluster)
วันที่ 19 และ วันที่ 22 เมษายน 2567ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้รับจ้าง กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ( Cluster) ต่อเนื่องปีที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน กิจกรรมย่อยกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพ ( Productivity) ในการวินิจฉัยสถานประกอบการ เพื่อหาความต้องการในการให้คำแนะนำ/ปรึกษา ที่สอดคล้องกับผลการวินิจฉัย ดังนี้1. กล้วยตากวิเชียร ต. บางกระทุ่มอ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก2. จรรยา กล้วยอบเนย ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ จ. สุโขทัย3. วิสาหกิจขุมชนกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ (กล้วยตากมาริน) ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
23 เม.ย. 2567
DC2 ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
DC2 ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่2 เป็นประธานนำเจ้าหน้าที่สรงน้ำพระพุทธรูปในการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมเนื่องในวันสงกรานต์ปีใหม่เมือง นายทานทัต ยมเกิด ประธานคณะทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นำเจ้าหน้าที่ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำขอพรจาก ผอ.ศภ.2 กสอ.เพื่อเป็นสิริมงคล ให้กับตัวเอง และครอบครัวต่อไป ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2
18 เม.ย. 2567
“ดีพร้อม” ผนึกกำลัง วช. RESHAPE THE INDUSTRY ปฏิรูปอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง
วันพุธ ที่ 10 เมษายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
11 เม.ย. 2567
ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูป
วันที่ 10-11 เมษายน 2567ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อทบทวนกระบวนการผลิต การจัดทำเอกสารการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐาน อย. สำหรับการตรวจประเมินภายใน ณ บริษัท ออลริชเชส จำกัด จ.ตาก และประชาสัมพันธ์โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ บริษัท พี เอ เอส พืชผลส่งออกและไซโล จำกัด จ.สุโขทัย และ หจก. แม่สอด จรรย์สุดา จ.ตาก
11 เม.ย. 2567
DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2) ลงพื้นที่สถานประกอบการ จังหวัดเพชรบูรณ์
DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2) ลงพื้นที่สถานประกอบการ จังหวัดเพชรบูรณ์ระหว่างวันที่ 6 -7 เมษายน 2567เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามการดำเนินงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์เองได้จริง คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดบ้านปากปู่ ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาคือ ปลาหมึกย่างจากเห็ดนางรมหลวง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ plant-based จากเห็ดเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้บริโภคในปัจจุบัน และดำเนินการวินิจฉัยกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมแทนรายเดิม คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุกรบ้านสวน(บ้านสวนฟาร์มผักอินทรีย์) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มคือ ผัก ผลไม้อินทรีย์ เช่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง เก็กฮวย เลม่อน ผักคะน้า กระเพรา ป่วยเล้ง จิงจูฉ่าย กวางตุ้ง มะละกอ มะม่วง เสาวรส ผักสลัด เป็นต้น ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีผลผลิตทางการเกษตรที่ตกเกรดจำนวนมาก เนื่องจากกลุ่มลูกค้า เป็นห้างโมเติร์นเทรดขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างจะจำกัดขนาดและคุณภาพของของที่จะส่งไปขาย โดยปัจจุบันทางกลุ่มนำผลผลิตที่ตกเกรดดังกล่าวไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ แต่ทางผู้นำกลุ่ม มีแนวคิดที่ต้องการนำผลผลิตดังกล่าวไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นที่ต้องการของตลาด
09 เม.ย. 2567
DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2) กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านกลไกศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
วันที่ 4 เมษายน 2567 DIPROM CENTER 2 (ดีพร้อมเซนเตอร์ 2) กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านกลไกศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม และกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีทุ่นแรงสำหรับเกษตรแปรรูปของชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้1. วิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบสูดดมจากกากสมุนไพรที่เหลือทิ้ง2. วิสาหกิจชุมชนเกษตรสุขใจ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฝรั่งหยีจากฝรั่งตกเกรดในการขายผลสด3. วิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยคล้า อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ต้องการเครื่องหั่นกล้วยในการผลิตผลิตภัณฑ์กล้วยผง เพื่อลดแรงคน และเพิ่มกำลังการผลิต
05 เม.ย. 2567