กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมการสร้างเครือข่ายการเกษตร
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมการสร้างเครือข่ายการเกษตรในการพัฒนาให้เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ และร่วมกันวางแผนพัฒนาเครือข่ายเพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจพืชผักผลไม้ สมุนไพร เลี้ยงสัตว์ วิถีไทยสุโขทัย ณ อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาส และ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
15 ก.ค. 2563
นายวีระพล ผ่องสุภา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมการสร้างเครือข่ายการเกษตร
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 นายวีระพล ผ่องสุภา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมการสร้างเครือข่ายการเกษตรในการพัฒนาให้เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ และร่วมกันวางแผนพัฒนาเครือข่ายเพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจพืชผักผลไม้ สมุนไพร เลี้ยงสัตว์ วิถีไทยสุโขทัย ณ อำเภอศรีสำโรง และ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
14 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ สถานประกอบการ TaiiDen ไทไอดิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ โดยการให้คำปรึกษาแนะนำครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้แนะนำการเทคนิค และวิธีการในระดับเบื้องต้น ในการ Live ถ่ายทอดสด ผ่านเพจ facebook ของสถานประกอบการ TaiiDen ไทไอดิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก รวมถึงได้แนะนำวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการ Live ถ่ายทอดสด และการบันทึกวิดีโอ การปรับตั้งค่าอุปกรณ์เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ได้วิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรค และข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อที่จะ Live ถ่ายทอดสด
13 ก.ค. 2563
ศูนย์ฯ ให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พื้นที่จังหวัดตาก
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำ โครงการการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พื้นที่จังหวัดตาก ได้แก่ ร้านแปจ่อเขียวป้าติ่น เลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต มีความเข้าใจและตระหนักถึง การผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานการผลิต หรือคำนึงถึงการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ในการแข่งขันด้านการตลาด
12 ก.ค. 2563
ศูนย์ฯ ให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับตั้งค่าเครื่องจักรไลน์การผลิตประเภทของเหลวบรรจุขวด เพื่อ การผลิตน้ำผลไม้ผสมบุกผงบรรจุขวด สู่เชิงพาณิชย์
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับตั้งค่าเครื่องจักรไลน์การผลิตประเภทของเหลวบรรจุขวด เพื่อ การผลิตน้ำผลไม้ผสมบุกผงบรรจุขวด สู่เชิงพาณิชย์ ส่งออกต่างประเทศให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธัญ อินเตอร์เทรด 2014 พื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
12 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 เข้าติดตามการดำเนินงานที่ปรึกษา ภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) พื้นที่จังหวัดตาก สุโขทัย
ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 เข้าติดตามการดำเนินงานที่ปรึกษา ภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) พื้นที่จังหวัดตาก สุโขทัย โดยลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม ณ สถานประกอบการ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่1. กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก 2. วิสาหกิจชุมชุน เห็ดเยื่อไผ่ ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก3. กลุ่มแปลรูปพืชผักปลอดภัยบ้านแม่กลองน้อย ต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก4. วิสาหกิจชุมชน ปกาเกอะญอ ผ้ากี่เอวสีธรรมชาติต้าโอ้มู ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก5. น้ำดิ่มตราเขานางคำ ต.บ้านใหม่ชัยมงคล อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
08 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนา และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พื้นที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
วันที่ 30 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนา และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พื้นที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 ราย ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะม่วง เลขที่ 74/4 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปกล้วย (ครัวไอรีน) เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สามารถแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ พร้อมจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ สามารถนำไปทดสอบตลาดได้
05 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าผู้ประกอบการที่เข้ารับการวินิจฉัย/ปรึกษาแนะนำเบื้องต้นฯ และ ปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม ภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
วันที่ 28-30 มิถุนายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าผู้ประกอบการที่เข้ารับการวินิจฉัย/ปรึกษาแนะนำเบื้องต้นฯ และ ปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม ภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. กลุ่มไส้เมี่ยงสมุนไพร ที่ปรึกษาได้แนะนำให้ผู้ประกอบการนำเศษกล้วยหินที่เหลือจากกระบวนการผลิตกล้วยไส้มะขามมาต่อยอด โดยนำเศษกล้วยหินมาอบแห้งด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์และบดเป็นผงเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ทองม้วนกล้วยหินอบควันเทียน ซึ่งได้ผลตอบรับจากตลาดดีมาก เพิ่มยอดขายได้ถึงร้อยละ 50 ทำให้ผู้ประกอบการมีความต้องการวัตถุดิบเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด ซึ่งได้แนะนำในการหาแหล่งวัตถุดิบนอกพื้นที่ หรือหาวิธีสต๊อกวัตถุดิบ 2. กลุ่มแม่บ้านยาวีร่วมใจพัฒนา มีความต้องการขยายตลาดเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แยมมะขามที่จากเดิมผลิตตามออเดอร์บริษัทเอกชนส่งไปขายยังต่างประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ทดลองฝากขายบนเพจกลุ่มร้านขายของฝากจังหวัดเพชรบูรณ์ (กลุ่มไส้เมี่ยงสมุนไพร) เพื่อเป็นการประชะสัมพันธ์สินค้าและทดสอบตลาดในประเทศ 3. กลุ่มผ้าย้อมสีธรรมชาติ เริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจใหม่อยู่ระหว่างการทดลองผลิตสินค้าผ้ามัดย้อม และทดสอบคุณภาพเรื่องสีย้อมที่ต้องการให้ติดแน่นคงทน เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและคัดสรรดาว โดยเจ้าหน้าที่ได้ประสานสานกับทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์เรื่องข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ในเรื่องการพัฒนาสีที่ใช้ในการย้อม
01 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์และหน่วยงานเครือข่าย RISMEP ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ Mobile Clinic ให้บริการส่งเสริม SMEs/OTOP ในจังหวัดเพชรบูรณ์
วันที่ 28-30 มิถุนายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์และหน่วยงานเครือข่าย RISMEP ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ Mobile Clinic ให้บริการส่งเสริม SMEs/OTOP ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. กลุ่มสมุนไพรไทหล่ม ผู้ประกอบการมีความต้องการออกแบบสถานที่ผลิตเพื่อขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งได้มีการประสานกับทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้ามาเตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่และเอกสารให้กับผู้ประกอบการ และงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ (กล่อง) ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สเปรย์หญ้าเอ็นยืด โดยคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการมียอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 รับเรื่องเพื่อให้บริการต่อไป 2. หินฮาวออร์แกนิคฟาร์ม ผู้ประกอบการมีความต้องการขยายตลาดผัก ผลไม้อินทรีย์ โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ทดลองนำสินค้าจำหน่ายผ่าน Thai Organic Platform เป็นการขายจากมือเกษตรกรไปสู่มือผู้บริโภคโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางควบคู่กับการจำหน่ายทางหน้าร้าน และการเตรียมความพร้อมสถานที่ผลิตเพื่อขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะมีการประสานกับทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่อไป 3. วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะและแกะ ผลิตภัณฑ์นมแพะพาสเจอร์ไรซ์และสบู่นมแพะ ผู้ประกอบการได้มีการทดสอบตลาด (ตลาดพระใหญ่) โดยมีผู้สนใจจำนวนมากแต่ติดปัญหาในเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทำให้ยอดขายไม่ดีเท่าที่ควร และปัญหาอายุการเก็บรักษานมแพะพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้มีการนัดหมายเพื่อเข้ามาแนะนำการเตรียมสถานที่และเอกสารเพื่อขอรับรองมาตรฐานต่อไป ในส่วนของปัญหานมแพะพาสเจอร์ไรซ์ได้แนะนำให้ทดลองแปรรูปเป็นนมแพะอัดเม็ดโดยใช้เครื่อง Spray Dryer ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 หรือเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยเครื่องรีทอร์ท
01 ก.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าผู้ผ่านการอบรมโครงการสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 23-25 มิถุนายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าผู้ผ่านการอบรมโครงการสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อติดตามผลสำฤทธิ์ของโครงการฯ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้น และแนะนำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคดำเนินธุรกิจในเบื้องต้น ซึ่งผู้ผ่านการอบรมฯ ดังกล่าว ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ก่อให้เกิดมีการลงทุนและขยายกิจการเพิ่มขึ้น
26 มิ.ย. 2563