Category
18-22 และ 27-29 ธ.ค. 60 : จนท.ศภ.2 กสอ.จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงาน หลักสูตร "การพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่"
วันที่ 18-22 และ 27-29 ธันวาคม 2560 จนท.ศภ.2 กสอ.จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงาน หลักสูตร "การพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่" ภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ ณ โรงแรมโฆษิตฮิลล์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบ OTOP ให้มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการ การผลิต การพัฒนาผลัตภัณฑ์ การเงินและบัญชี การตลาด และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุค 4.0 โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 18 คน
25 ธ.ค. 2017
25-27 ธ.ค. 60 : จนท.ศภ.2 กสอ. ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา SMEs เพื่อเพิ่มผลิตภาพ
วันที่ 25-27 ธันวาคม 2560 จนท.ศภ.2 กสอ. ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสถานประกอบการที่เข้าร่วม กิจกรรมการพัฒนา SMEs เพื่อเพิ่มผลิตภาพ/เตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐานสากล (การขอรับรองมาตรฐานสากล) ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยที่ปรึกษาจาก บริษัท ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ จำกัด เป็นผู้วินิจฉัย ณ หจก. น้ำมันดาวตาก อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และ บริษัท ภาลักษณ์เจริญ จำกัด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
25 ธ.ค. 2017
30 พ.ย.2560 : ผอ.ศภ.2 กสอ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ผอ.ศภ.2 กสอ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้กับ SMEs จำนวน 3 ราย รวมเป็นเงิน 6,038,000 บาท ได้แก่ 1. หจก.ประจักษ์เซอร์วิส1984 2. บจก. เอช บี แพลนท์ และ 3. บจก.ภูตะวันบีฟ
30 พ.ย. 2017
ประชาสัมพันธ์งานตลาดประชารัฐของดีจังหวัดพิษณุโลก
ประชาสัมพันธ์งานตลาดประชารัฐของดีจังหวัดพิษณุโลก
30 พ.ย. 2017
ผ้าทอกะเหรี่ยง
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตและแข่งขันได้ การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมและการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร โดยการสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ OTOP ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรากฐานของประเทศ โดยการพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์อยู่แล้วให้มีความยั่งยืนและพัฒนาสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือผู้ซื้อแต่เนื่องจากในปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตลาดค่อนข้างจำกัด สาเหตุจากผลิตภัณฑ์มีความล้าสมัยไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อช่วยให้การผลิตผลิตภัณฑ์มีคุณภาพได้มาตรฐานมากขึ้น ผู้ผลิตยังมีศักยภาพในการผลิตไม่เพียงพอ ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนากระบวนการผลิตที่ถูกต้อง การผลิตที่รวดเร็วและได้มาตรฐาน หรือยังขาดการบริหารจัดการการผลิตที่ดีและยังไม่สามารถนำภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ โครงการการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (The Development of Industrial Business by Applying Cultural Heritage and Local Wisdom) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถดำเนินการได้ในเชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดมูลค่าใหม่ของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาซึ่งในปีงบประมาณ 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงมีแนวคิดที่จะดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (วัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยง) ดังนั้น การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (วัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยง) นั้น เป็นโครงการที่จะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านนี้และสามารถจะเข้าไปช่วยเหลือ ให้คำนำปรึกษา ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงให้มีคุณค่าและมีคุณภาพเพื่อออกสู่ตลาดสินค้าภายในประเทศและต่อยอดสู่ต่างประเทศในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังเช่นข้อมูลการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในงานอัตลักษณ์แฟชั่นชนเผ่าลาภเลิศหล้านภาลัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สร้างจิตสำนึกและนำคุณค่าของอัตลักษณ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงมาสร้างรายได้ในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่มีความเป็นอัตลักษณ์ (identity) ในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากชนเผ่าอื่น อัตลักษณ์จะแสดงความเป็นตัวตนและสังคม เนื่องจากทุกชนเผ่าสร้างอัตลักษณ์ที่ร่วมกัน แตกต่างกัน เช่น ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้าน นิทาน การสร้างและดำรงวัฒนธรรม การสร้างบ้านเรือน เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ชนเผ่าที่อยู่ตามแม่น้ำเดียวกันมีการจัดพิธีกรรมร่วมกัน อัตลักษณ์เหล่านี้มีการผลิตซ้ำและสร้างขึ้นมาใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและวิธีคิด โดยอัตลักษณ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ตามพระราชเสาวณีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระราชทานให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟู สร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่ากะเหรี่ยง อีกทั้งสามารถนำอัตลักษณ์ของภูมิปัญญา วัฒนธรรมของท้องถิ่นมาใช้ในงานออกแบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัย (ผศ. รจนา ชื่นศิริกุลชัย) จึงได้นำเอาความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่ากะเหรี่ยงในมิติทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม มาออกแบบเป็นแฟชั่นอัตลักษณ์ชนกะเหรี่ยงในลุ่มน้ำสาละวิน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้คนรู้จักอย่างกว้างขวาง และมีตัวอย่างแฟชั่นอัตลักษณ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงในลุ่มน้ำสาละวินที่นำมาประกอบนี้เป็นผลงานการออกแบบของคุณศรายุทธ ชินวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรออกแบบสิ่งทอ สาขาการออกแบบ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน จากการจัดงาน อัตลักษณ์แฟชั่นชนเผ่าลาภเลิศหล้านภาลัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีการนำเอาความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่า จากร่างกายและจิตวิญญาณ ในเรื่องของความเป็นธรรมชาติของป่า ดิน สายน้ำ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม วัฒนธรรม ที่ว่า หญิงที่แต่งงานแล้วต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกน้อย นั่งทอผ้า เวลาไปไหนต้องนำลูกน้อยผูกติดหลังตลอดเวลา มีการนำรูปแบบโครงเสื้อที่ตัดเย็บด้วยมือของชนเผ่ามาประยุกต์เป็นแฟชั่นสู่ตลาดสากล และในการจัดงาน อัตลักษณ์แฟชั่นชนเผ่าลาภเลิศหล้านภาลัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกิดจากการตระหนักถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่าหนึ่งล้านตำแหน่ง อีกทั้งรัฐบาลมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมทั้งสนับสนุนให้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้สอนจึงเกิดแนวคิดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 ได้นำเอาประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นรากเหง้าทางความคิดที่สำคัญของชนเผ่าต่างๆ มาพัฒนางานด้านแฟชั่นสู่ตลาด และผลงานแฟชั่นสามารถนำมาเป็นต้นแบบทางความคิดสร้างสรรค์ แหล่งกำเนิดสินค้าด้านแฟชั่นชนเผ่าที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า เพื่อให้ธุรกิจแฟชั่นเกิดการต่อยอด เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและสังคม และเกื้อกูลสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและฟื้นฟูงานหัตถศิลป์ของไทย ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีการแต่งกายแบบชนเผ่ากะเหรี่ยง ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ตลอดระยะทางที่แม่น้ำสาละวินไหลผ่านบริเวณชายแดนไทย-พม่ามีชนเผ่ากะเหรี่ยงตั้งบ้านเรือนอาศัย โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ 1. กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า "ยางขาว" แต่กะเหรี่ยงสะกอเรียกตัวเองว่า "ปวาเกอญอ" 2. กะเหรี่ยงโปว์ เรียกตนเองว่า "โพล่ง" 3. กะเหรี่ยงปะโอ หรือชื่อเรียกในภาษาพม่าว่า "ตองสู" 4. กะเหรี่ยงบะเว หรือพม่าเรียกว่า "คะยา" 5. กะเหรี่ยงคอยาว หรือ "ปาดอง" ในภาษาไทยล้านนา และ 6. กะเหรี่ยงหูยาว หรือชื่อเรียกในภาษาไทยล้านนาว่า "กะยอ" และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันทำให้อัตลักษณ์ของชนเผ่าถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การที่ชนเผ่าได้รับวัฒนธรรมใหม่เข้ามาทำให้สมาชิกในชนเผ่าระดับต่างๆ ต้องปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี ไปอย่างมาก แต่สิ่งที่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ได้อย่างชัดเจนคือ การแต่งกาย ซึ่งเป็นเรื่องของวิถีสังคม เรื่องราวความเชื่อและวัฒนธรรมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมานานนับร้อยปี ถึงแม้ว่ารายละเอียดอาจจะเลือนหายไปบ้างแต่ก็ได้แสดงให้เห็นความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่ากะเหรี่ยง เสื้อผ้าของชนเผ่ากะเหรี่ยงมีโครงสร้างที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงหรือเด็ก ต่างกันตรงสีสันและลวดลาย เสื้อทอจากฝ้ายที่ปลูกเองตามริมรั้ว ทอด้วยกี่เอว หน้าผ้ามีความกว้างเท่ากับลำตัวของผู้ทอ โครงสร้างของเสื้อคือการนำผ้าทอสองชิ้นมาเย็บติดกัน เว้นตรงกลางไว้สวมหัว และพับครึ่งเว้นตอนบนให้แขนลอด เย็บข้างลงไปถึงชายเสื้อ ตกแต่งขอบคอ ขอบแขน และชายเสื้อ มีสามรูปแบบ 1. การแต่งกายของผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นสีขาวเท่านั้น มีการตกแต่งลวดลายเล็กน้อย โพกหัวด้วยผ้าทอที่มีลวดลาย คอเสื้อไม่ผ่าลึก เนื่องจากมีความเชื่อว่าถ้าผ่าลึกจะผิดประเพณี ทำอะไรก็ไม่เจริญ (ขึด) ไม่สวมเครื่องประดับ 2. การแต่งกายของผู้ชายไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ โครงเสื้อเหมือนผู้หญิง ไม่มีการตกแต่งเสริม สวมกางเกงแบบจีน (กุยเฮง) 3. การแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ตัวเสื้อสั้นเนื่องจากต้องให้ลูกกินนมแม่ ตัวเสื้อมีการปักลวดลายด้วยเส้นด้ายฝ้ายและลูกเดือย สวมผ้าถุง ที่ขาดไม่ได้คือสร้อยคอลูกปัดหลากสีหลายๆ เส้น ยิ่งใส่มากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความมีฐานะ และโพกหัวด้วยผ้าสีพื้น สีขาว ฟ้าและชมพู อีกทั้งตัวอย่าง ผ้าทอกะเหรี่ยง สินค้าพื้นบ้านของชนเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก และความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอ ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวมักจะซื้อผ้าทอกะเหรี่ยงกลับมาเป็นของฝาก และด้วยความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์นี่เองได้เป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาและยกระดับผ้าทอกะเหรี่ยงขึ้นมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นภูมิปัญญาการทอผ้ากี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก มีการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวด้วยการทอผ้า ที่เรียกว่า การกี่เอว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี โดยครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ได้มีพระราชดำรัสให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้ากะเหรี่ยง เพื่อการรักษาไว้ซึ่งศิลปะการทอผ้าด้วยกี่เอวที่ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแห่งเดียวในโลก พร้อมมุ่งหวังให้ราษฎรกะเหรี่ยงเกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และมีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการ “สร้าง และกระตุ้น” ให้ราษฎรกะเหรี่ยงเกิดความตระหนัก ความรัก ความหวงแหน ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ พร้อมทั้งสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญานั้นมาสู่การพาณิชย์ เพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้มีการพัฒนาศักยภาพผ้าทอกะเหรี่ยงด้วยแนวคิด “การตลาดนำการผลิต”
29 พ.ย. 2017
24 พ.ย.2560 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีประจำภาคที่ 2 เพื่อร่วมกันพิจารณา คก.พิเศษ ตามแนวทางที่ 3 ณ ห้องประชุม สอจ.พิษณุโลก
24 พ.ย.2560 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีประจำภาคที่ 2 เพื่อร่วมกันพิจารณา คก.พิเศษ ตามแนวทางที่ 3 ณ ห้องประชุม สอจ.พิษณุโลก มติที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอโครงการ "สร้างพันธุกรรมอุตสาหกรรมใหม่ สู่ไทยแลนด์ 4.0 : INNO - TECH Transformation" ให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาฯ ส่วนกลางพิจารณาต่อไป
24 พ.ย. 2017
นิยามเอสเอ็มอี
กิจการผลิตสินค้า หมายความครอบคลุมถึง การผลิตที่เป็นลักษณะของการประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยความหมายที่เป็นสากลของการผลิตก็คือ การเปลี่ยนรูปวัตถุให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ด้วยเครื่องจักรกล หรือเคมีภัณฑ์ โดยไม่คำนึงว่างานนั้นทำโดยเครื่องจักรหรือด้วยมือ ทั้งนี้กิจการผลิตสินค้าในที่นี้รวมถึงการแปรรูปผลิตผลการเกษตรอย่างง่ายที่มีลักษณะเป็นการอุตสาหกรรม การผลิตที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชน และการผลิตที่เป็นการประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือนด้วย กิจการการบริการ หมายความครอบคลุมถึง การศึกษา การสุขภาพ การบันเทิง การขนส่ง การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ การโรงแรมและหอพัก การภัตตาคาร การขายอาหาร การขายเครื่องดื่มของภัตตาคารและร้านอาหาร การให้บริการเช่าสิ่งบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ การให้บริการส่วนบุคคล บริการในครัวเรือน บริการที่ให้กับธุรกิจ การซ่อมแซมทุกชนิด และการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว กิจการค้าส่งและค้าปลีก หมายถึง การให้บริการเกี่ยวกับการค้า โดยที่การค้าส่ง หมายถึง การขายสินค้าใหม่และสินค้าใช้แล้วให้แก่ ผู้ค้าปลีก ผู้ใช้ในงานอุตสาหกรรม งานพาณิชยกรรม สถาบัน ผู้ใช้ในงานวิชาชีพ และรวมทั้งการขายให้แก่ผู้ค้าส่งด้วยกันเอง ส่วนการค้าปลีก หมายถึง การขายโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปสินค้าทั้งสินค้าใหม่และสินค้าใช้แล้วให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อการบริโภคหรือการใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนบุคคลในครัวเรือน การค้าในที่นี้มีความหมายรวมถึง การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการซื้อขาย สถานีบริการน้ำมัน และสหกรณ์ผู้บริโภค ข้อมูลอ้างอิง กฎกระทรวงกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 93 ก หน้า 17 วันที่ 20 กันยายน 2545) ที่มา : www.sme.go.th (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : สสว.)
22 พ.ย. 2017
กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ
คุณสมบัติผู้ขอรับสินเชื่อ กิจการผลิตสินค้า บริการ ค้าปลีก ค้าส่งที่เป็นนิติบุคคล (บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล) สัญชาติไทย อยู่ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือที่เชื่อมโยงและจะพัฒนาไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ธุรกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯประจำจังหวัดกำหนด มีความต้องการใช้เงินทุนเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการ/สินค้า/บริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เคย หรืออยู่ระหว่างเข้าร่วมโครงการภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนที่มีลักษณะเป็นการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ หรือเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการตลาด การจัดการ และการเงิน หรือเป็นผู้ได้รับรางวัลในการประกวดแนวคิด/แผนธุรกิจ หรือ SMEs ดีเด่นด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เคยร่วมโครงการในข้างต้น ต้องเข้าร่วมโครงการที่กองทุนฯกำหนด มีระบบบัญชีเดียวหรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว ไม่เป็น NPL หรือถูกดำเนินคดี ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ ไม่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือไม่เคยปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผานมา และมีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 12 งวด ก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ ทั้งนี้ สามารถผ่อนปรนได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่กองทุนฯกำหนด ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนต่าง ๆ หรือเงินทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ยินยอมนำส่งข้อมูลทางบัญชีของกิจการและข้อมูลเครดิตให้กับกองทุน หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกองทุนตามรอบบัญชีทุกปี ตลอดอายุการชำระหนี้ หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯกำหนด ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.smessrc.com หรือ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ
22 พ.ย. 2017
23 พ.ย.2560 ศภ.2 กสอ. จัดกิจกรรมประชุมทบทวนแผนกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (มะขาม) ายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ ณ จันทร์แรมรีสอร์ท อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
23 พ.ย.2560 ศภ.2 กสอ. จัดกิจกรรมประชุมทบทวนแผนกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (มะขาม) ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ ณ จันทร์แรมรีสอร์ท อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ มีสมาชิกคลัสเตอร์มะขามและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 คน
21 พ.ย. 2017
คลังความรู้
นิยามเอสเอ็มอี วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (Dip E-Journal) เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด
20 พ.ย. 2017